วันอังคาร, ธันวาคม ๒๕, ๒๕๕๐

ดาวเทียมที่ประเทศไทยใช้งาน

ดาวเทียมไทยคม (Thaicom) เป็นชื่อของดาวเทียมสื่อสาร ที่ดำเนินการจัดส่งขึ้นสู่วงโคจร ให้บริการช่องสัญญาณดาวเทียม และบริหารโครงการโดยบริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ในเครือบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยได้รับสัมปทานจากกระทรวงคมนาคม เมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นระยะเวลา 30 ปี (ปัจจุบันอำนาจการดูแลสัญญานี้ได้ถูกโอนไปอยู่ภายใต้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
ชื่อ ไทยคม เป็นชื่อพระราชทาน ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานมาจากคำว่า Thai Communications ในภาษาอังกฤษ
ปัจจุบัน ดาวเทียมไทยคม มีทั้งสิ้น 5 ดวงคือ

ไทยคม 1A
ดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย รุ่น HS-376 สร้างโดย Huges Space Aircraft (บริษัทลูกของ โบอิง) โคจรบริเวณพิกัดที่ 120 องศาตะวันออก ถูกยิงขึ้นสู่วงโคจรในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 อายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2551)
เดิมดาวเทียมดวงนี้อยู่ที่พิกัด 78.5 องศาตะวันออก ใช้ชื่อว่า ไทยคม 1 เมื่อย้ายมาอยู่ที่ 120 องศาตะวันออก เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 จึงใช้ชื่อว่า ไทยคม 1A
ตำแหน่ง: 0°0′N 120°0′E


ไทยคม 2
ดาวเทียมดวงที่ 2 ของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 เช่นเดียวกับ ไทยคม 1A โคจรบริเวณพิกัดที่ 78.5 องศาตะวันออก ถูกยิงขึ้นสู่วงโคจรในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2537 อายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2552)
ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E

ไทยคม 3
เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A โคจรบริเวณพิกัดเดียวกับ ไทยคม 2 คือ 78.5 องศาตะวันออก ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2540 มีพื้นที่การให้บริการ (footprint) ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 4 ทวีป สามารถให้บริการในเอเซีย, ยุโรป, ออสเตรเลียและแอฟริกา และถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ดาวเทียมไทยคม 3 มีอายุการใช้งานประมาณ 14 ปี แต่ปลดระวางไปเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 เนื่องจากมีปัญหาเรื่องระบบไฟฟ้า
ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E

ไทยคม 4 หรือ ไอพีสตาร์
เป็นดาวเทียมรุ่น LS-1300 SX สร้างโดย Space System/Loral พาโล อัลโต สหรัฐอเมริกา เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ออกแบบมาเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ความเร็ว 45 Gbps เป็นดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ที่ใหญ่ มีน้ำหนักมากที่สุด ถึง 6486 กิโลกรัม และทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ไอพีสตาร์ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2548 มีอายุการใช้งานประมาณ 12 ปี [1]
ตำแหน่ง: 0°0′N 120°0′E

ไทยคม 5
เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A รุ่นเดียวกับไทยคม 3 สร้างโดย Alcatel Alenia Space ประเทศฝรั่งเศส มีน้ำหนัก 2800 กิโลกรัม ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เพื่อทดแทนไทยคม 3 มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (High Definition TV)
ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E

วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน ๑๕, ๒๕๕๐

คำศัพท์ที่เกี่ยวกับโทรคมนาคม

1. Analogเทคโนโลยีเครือข่ายการสื่อสารไร้สายที่ใช้สัญญาณคลื่นความถี่วิทยุ โดยข้อมูลจะถูกส่งไปในรูปของคลื่นเสียงผ่านสัญญาณวิทยุ ระบบอนาล็อกจะสามารถจัดช่องสัญญาณให้ใช้งานได้ 1 สายต่อ 1 ช่องสัญญาณ ซึ่งแตกต่างจากระบบดิจิตอลที่สามารถรองรับการใช้งานได้หลายๆ สายพร้อมกันต่อ 1 ช่องสัญญาณ ดังนั้นการสื่อสารไร้สายส่วนใหญ่จึงนิยมใช้ระบบการส่งข้อมูลแบบดิจิตอล
2. Broadbandคือคำเรียกทั่วๆ ไปของระบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูงชนิดต่างๆ เช่น DSL และโมเด็มผ่านสายเคเบิล บรอดแบนด์ สามารถส่งข้อมูลรูปแบบต่างๆ อาทิ เสียง ข้อมูลและวิดีโอ ได้พร้อมๆกัน บรอดแบนด์หมายถึง เทคโนโลยีการส่งข้อมูลที่มีความเร็วในการดาวน์โหลดประมาณ 2 Mbps หรือมีความเร็วสูงกว่าโมเด็มแบบ 56 K ถึง 40 เท่า
3. DDoS หรือ ดีดอส หรือ Distributed Denial-of-Service หรือ ดิสทริบิวต์ออฟเซอร์วิส คือ ลักษณะหรือวิธีการหนึ่งของการโจมตีเครื่องคอมพิวเตอร์เป้าหมายหรือระบบเป้าหมายบนอินเทอร์เน็ตของแฮกเกอร์ เพื่อทำให้ระบบเป้าหมายปฏิเสธหรือหยุดการให้บริการ (Denial-of-Service) การโจมตีจะเกิดขึ้นพร้อมๆกันและมีเป้าหมายเดียวกัน โดยเครื่องที่ตกเป็นเหยื่อทั้งหมด (เครื่องที่ติดเชื้อจากการแพร่กระจายตัวของโค้ดร้ายซึ่งเป็นเครื่องมือของแฮกเกอร์สำหรับการควบคุมระบบ) จะสร้างข้อมูลขยะขึ้นมา แล้วส่งไปที่ระบบเป้าหมายกระแสข้อมูลที่ไหลเข้ามาในปริมาณมหาศาลทำให้ระบบเป้าหมายต้องทำงานหนักขึ้นและช้าลงเรื่อยๆ เมื่อเกินกว่าระดับที่รับได้ ก็จะหยุดการทำงานลงในที่สุด อันเป็นเหตุให้ผู้ใช้ไม่สามารถใช้บริการระบบเป้าหมายได้ตามปกติ
4. EPROM หรือ Erasable Programmable Read-Only Memory หรือ เอ็ปรอม คือ พีรอม (PROM) ซึ่งสามารถลบและนำมาใช้ซ้ำได้ การลบข้อมูลในเอ็ปรอมสามารถทำได้โดยการนำไปตากแดด รังสีอุลตร้าไวโอเลตในแสงแดดจะทำปฏิกิริยากับชิพหน่วยความจำและลบข้อมูลทั้งหมดออกไป อย่างไรก็ตามการลบข้อมูลจะเกิดขึ้นภายใต้แสงแดดจัดเท่านั้น แสงแดดที่ส่องผ่านเข้ามาในห้องอาจมีปริมาณรังสีอุลตร้าไวโอเลตไม่เพียงพอสำหรับกระบวนการดังกล่าวได้
5. Electronic Data Processing (EDP)ประมวลผลข้อมูลทางด้านอิเล็กทรอนิกส์
6. Enhanced Data Rates for Global Evolution (EDGE)เทคโนโลยีระดับ G3 ตามมาตราฐานโลก ใช้สำหรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย ในระบบ GSM มีอัตราการรับส่งข้อมูลถึง 236 kbps
7. Dynamic Host Configuration Protocol (DHCP) มาตราฐานการสื่อสารประเภทหนึ่ง(Protocol) ที่ทำหน้าที่ในการแจกจ่ายไอพีแอดเดรส และพารามิเตอร์
8. Digital Singanture Standrad (DSS)มาตราฐานการสร้างรหัสเพื่อยืนยันตัวผู้ส่งข้อมูลโดยมีประเทศสหัรฐอเมริกาเป็นผู้กำหนดขึ้น เพื่อให้ทราบว่าข้อมูลนั้นถูกส่งมาจากใคร โดยผู้อื่นไม่สามารถปลอมแปลงได้
9. Do It Yourself (D - I - Y) คำย่อ ที่หมายถึง ทำด้วยตัวเอง เช้นการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยตัวเอง เป็นต้น
10. Common Gateway Interface (CGI) การเชื่อมต่อข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตที่ไม่ได้ใช้มาตราฐานสื่อสาร HTTP เช่นการเขียน FROM ในการกรอกข้อมูลเป็นต้น สำกรับภาษาที่ใช้เขียน CGI ได้แก่ Perl หรือ C
11. Active Sever Page (ASP)ภาษาหนึ่งในการพัฒนาเว็บในรูปแบบที่สามารถโต้ตอบกันได้ และเชื่อมกับระบบฐานข้อมูล ซึ่งพัฒนาโดยMicrosoft
12. algorithm หมายถึง ขั้นตอนและสูตรคำนวณในการแก้ปัญหา คำนี้มีรากคำจากชื่อ Al-Khowarizmi (825 ก่อนคริสตกาล) ซึ่งเป็นนักคณิตศาสตร์ชาวเปอร์เซีย และโปรแกรม คอมพิวเตอร์ สามารถมองได้ว่าเป็นการวางอัลกอริทึม ในส่วนคณิตศาสตร์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ อัลกอริทึม หมายถึงขั้นตอนเล็กๆในการแก้ปัญหา
13. Apache เป็นแม่ข่ายเว็บ (web server) ที่ให้ใช้ฟรี โดยการใช้ภายใต้การอนุญาตแบบ "open source" ในเวอร์ชัน 1.3 สามารถใช้กับระบบปฏิบัติแบบ UNIX ได้เกือบทั้งหมด ( เช่น Linux, Solaris, Digital UNIX และ AIX) ระบบ UNIX/POSIX (เช่น Rhapsody, BeOS และ BS2000/OSD) ระบบ AmigaOS และบนระบบ Windows NT/95/98 ตามการสำรวจของ Netcraft (www. Netcraft.com) ในเดือนกันยายน 1995 พบว่าแม่ข่ายเว็บมากกว่า 50 % ในเครื่องแม่ข่ายอินเตอร์เน็ตใช้ Apache แต่แม่ข่ายเว็บระบบ windows จาก Microsoft, Netscape และบริษัทฯ อื่น ๆ มีจำนวนผู้ใช้มากกว่า โดย Apache ได้รับความนิยมในกลุ่มเครื่องแม่ข่ายที่ใช้ระบบ UNIX Apache คอมไพล์ ด้วยระดับใหม่ที่สุด ของ Hypertext Transfer Protocol, HTTP 1.1
14. GPS (Global Positioning System) เป็น “กลุ่ม” ของตาวเทียมคลุมพื้นที่ 24 ดวงที่มีวงโคจรรอบโลกและทำให้มีความเป็นไปได้สำหรับประชาชนบนพื้นดินเป็นผู้รับที่หาตำแหน่งภูมิศาสตร์ของพวกเขา ความแม่นยำของตำแหน่งอยู่ระหว่าง 100 ถึง 10 สำหรับอุปกรณ์ส่วนใหญ่ ความแม่นยำสามารถเป็นตำแหน่งค้นหาภายใน 1 เมตรด้วยอุปกรณ์ได้รับอนุญาตเฉพาะจากกองทัพ อุปกรณ์ GPS ได้รับการใช้อย่างกว้างขวางในด้านวิทยาศาสตร์และได้กลายเป็นอุปกรณ์ราคาต่ำที่บุคคลทั่วไปสามารถเป็นเจ้าของตัวรับ GPS
15. Gopher เป็นโปรโตคอลแบบประยุกต์บนอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะจัดโครงสร้างไฟล์ที่อยู่บนเครื่องแม่ข่าย โดยไฟล์เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบสารสนเทศ Gopher จะให้วิธีการไปดึงไฟล์ประเภทข้อความจากทุกที่ เพื่อนำมาดูในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ซึ่งได้รับความนิยมมาก ในช่วงที่ผ่านมา Gopher เป็นชั้นหนึ่งของการเข้าสู่ Hypertext Transfer Protocol (HTTP) ด้วยการเชื่อมแบบ Hypertext link และ HTML ทำให้เกิด web browser แบบกราฟฟิกอย่างรวดเร็วโดยเข้าที่ Gopher ในส่วนโครงสร้างไฟล์ แบบ Gopher ดั้งเดิมยังสามารถเชื่อมกับ web browser โดยส่วนใหญ่ Gopher ได้รับการพัฒนาที่ University of Minnesota ซึ่งมีทีมกีฬาชื่อ "the Golden Gophers" ถึงแม้ว่า browser ของ Gopher ส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์ประเภทข้อความ แต่ในเวอร์ชัน HyperGopher ได้รับการพัฒนาให้แสดงภาพกราฟฟิก(ไฟล์ประเภท gif และ jpeg) ซึ่งรวมอยู่โครงสร้างของ Gopherเครื่องมือสำหรับการค้นหาโครงสร้างของ Gopher คือ Veronica และ Jughead
ที่มา